การเขียนบทความถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ต้องถ่ายทอดผ่านตัวอักษรให้ผู้อ่านเข้าใจ และถ้าจะให้ดีก็ต้องนำไปใช้ประโยชน์หรือเป็นความรู้ติดตัวได้ ซึ่งปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้งานเขียนบทความมีความสำคัญและจำเป็นมากในตลาดออนไลน์ เพราะเข้าถึงง่ายและมีต้นทุนต่ำ แต่ได้ผลตอบแทนเร็วและคุ้มค่า เพราะบทความหนึ่ง เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถใช้ได้ตลอดชีวิต โดยบทความที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในการทำตลาดออนไลน์ นั่นคือ บทความ SEO แต่จะทำอย่างไรให้ปังนั้น วันนี้ เราจะพามาดูกัน
วางเป้าหมายของเนื้อหาให้ชัดเจน
สิ่งแรกที่นักเขียนบทความทุกคนต้องรู้มีอยู่ 3 อย่างคือ เขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร / เพื่ออะไร / กลุ่มเป้าหมายคือใคร หากทราบทั้ง 3 อย่างนี้ จะทำให้คุณวางจุดประสงค์ของการเขียนบทความออกมาได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น หากบทความดังกล่าวมีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ควรใช้ภาษาที่ดูเป็นกันเอง ไม่ดูวิชาการจนเกินไป เพราะจะทำให้ดูน่าเบื่อและเข้าถึงยาก อย่างไรก็ตาม บทความก็ต้องมีความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยเช่นกัน แบบนี้จึงจะเรียกว่าเป็นบทความ SEO ที่มีคุณภาพ
หากเป็นการเขียนบทความเกี่ยวกับฟุตบอล เรื่องนี้ควรต้องใช้ความเชี่ยวชาญและความชอบส่วนตัวสักหน่อย เพราะถ้าเขียนบทความฟุตบอล แต่ไม่ดูการแข่งขัน ไม่ทราบว่าแต่ละทีมมีชื่อเรียกว่าอะไร แบบนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการเขียนอย่างมาก เพราะบทความด้านกีฬา มักมีคำศัพท์เฉพาะและชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปในวงการ อีกทั้งภาษาที่ใช้เขียน ยังแตกต่างจากบทความวิชาและบทความทั่วไป ใครที่จะรับงานเขียนประเภทนี้ อย่าลืมสำรวจความเชี่ยวชาญของตนเอง ก่อนรับงานกันด้วย
ใช้สำนวนของตนเอง
สำนวนการเขียนบทความของนักเขียนแต่ละคน ย่อมแตกต่างกันไป เปรียบเสมือนลายเซ็นหรือลายมือที่ไม่มีวันคัดลอกได้เหมือน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สำนวนการเขียนนี้ก็สามารถบ่งบอกถึงลักษณะของผู้เขียนได้ในระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้น จงหาสำนวนการเขียนของตนเองให้เจอ แล้วการเขียนบทความ SEO จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณไปเลย เพราะจะทำให้เรารู้ว่าคีย์เวิร์ดแบบนี้ ควรวางไว้ตรงไหนของประโยคจึงจะเหมาะสม แถมยังทำให้ผู้อ่านเข้าใจบทความของคุณเหมือนที่ผู้เขียนเข้าใจได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
เขียนบทความที่กระชับและไม่ยาวจนเกินไป
การเขียนบทความ SEO หากอยากให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว ควรรู้จักกระชับเนื้อหาให้เหมาะสม กระจายคีย์เวิร์ดให้สมดุล สักพารากราฟละ 1 คีย์เวิร์ดและใน 1 บทความ ควรมีเนื้อหาประมาณ 500 – 1,000 คำจะดีมากและต้องเป็นเนื้อหาที่สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องด้วย เคยมั้ย…ที่เวลาอ่านบทความจากบางเว็บไซต์ ชื่อเรื่องดูสวยหรูน่าสนใจ แต่พอคลิกเข้าไปอ่านแล้ว เนื้อหาจริงๆมีอยู่แค่ 2 บรรทัด ส่วนที่เหลือก็เป็นน้ำเกือบทั้งหมด
หากเจอแบบนี้บ่อยๆ สุดท้าย ผู้อ่านก็จะไม่เชื่อถือและไม่อยากกดเข้ามาอ่านบทความในเว็บไซต์นี้อีก ส่งผลให้การจัดอันดับในกูเกิ้ลตกต่ำลงไปด้วย ถ้าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น จงจำให้ขึ้นใจว่า “จงซื้อสัตย์กับงานของคุณ รวมถึงผู้อ่าน แล้วทำบทความออกมาอย่างเต็มที่”
เลือกใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการหาข้อมูลเขียนบทความออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นบทความ SEO บทความวิชาการหรือบทความแบบทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ใช้งานบ่อยๆและหาได้สะดวกที่สุดก็คือ ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ใช่ว่าลอกมาทั้งหมด แค่ให้อ่านเป็นแนวทางและเก็บความรู้มาใช้ในการเขียนเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล อย่าลืมว่าบทความ เมื่อนำลงเว็บไซต์ไปแล้ว จะมีผู้อ่านเป็นร้อย เป็นพัน หรือบางครั้งก็เป็นหมื่นเข้ามาอ่านและกดไลท์ กดแชร์เป็นจำนวนมาก
หากข้อมูลมีความผิดพลาด ย่อมเกิดผลเสียเป็นทอดๆอย่างใหญ่หลวง ดังนั้น สิ่งที่ต้องระวังคือ การเลือกใช้ข้อมูล เพราะเดี๋ยวนี้มีเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลเท็จและข่าวลือรายวันเป็นจำนวนมาก (แถมยังมีผู้ติดตามเยอะเสียด้วย) เพื่อเรียกยอดไลท์ ยอดแชร์จากผู้อ่าน เพราะฉะนั้น หากจะนำข้อมูลมาใช้ ควรตรวจสอบให้ดีก่อน อาจทำได้โดยการตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าวว่ามีจริงหรือไม่ ตรวจสอบจากหลายๆเว็บไซต์ว่ามีข้อมูลตรงกันหรือเปล่า หากมีข้อมูลที่ตรงกันหลายเว็บไซต์หรือหลายสำนักข่าว ก็วางใจได้ในระดับหนึ่งแล้ว
ฝึกฝนและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
การฝึกเขียนบทความบ่อยๆจะทำให้ทราบจุดบกพร่องและจุดแข็งของตนเอง วิธีนี้อาจดูเป็นวิธีพื้นๆที่หลายคนเคยได้ยินกันมากแล้ว แต่เชื่อว่า มีน้อยรายนักที่จะทำตาม อาจจะด้วยความไม่มีเวลา ขี้เกียจหรือเหตุผลร้อยแปดพันประการ จนในที่สุดก็ทำผิดซ้ำซากอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น สละเวลาว่างของคุณสัก 30 – 1 ชั่วโมง แล้วมานั่งฝึกเขียนบทความ เพื่อพัฒนาฝีมือกันดีกว่า ค่อยๆปรับปรุงแก้ไข เสริมจุดแข็ง จุดเด่นในสำนวนและถ้วยคำของคุณไปเรื่อยๆ รับรองว่า ต่อให้เจอบทความ SEO แบบไหนก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ทั้งหมดนี้ คือวิธีง่ายๆที่จะทำให้การเขียนบทความ SEO ของคุณนั้นง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใครที่กำลังมีปัญหาเรื่องการเขียนบทความแนวนี้ ก็สามารถนำเทคนิคที่ผู้เขียนได้ให้ไว้ในวันนี้ นำไปปรับใช้กันได้ แต่ที่สำคัญคือ เมื่ออ่านแล้วก็อย่าลืม นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาต่อยอดบทความของคุณต่อไป แบบนี้สิ…จึงจะเรียกว่าเป็น นักเขียนบทความที่มีคุณภาพ
Leave a Comment